คลังสินค้า (Warehouse) หมายถึง สถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพดี และมีคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบให้กับลูกค้า บุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน หรือภายนอกโซ่อุปทาน โดยคลังสินค้าทำหน้าที่เป็นสถานที่พักและเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ จนกว่าจะมีการเคลื่อนย้าย ส่งมอบไปสู่ผู้ที่มีความต้องการ ไม่ว่าจะเพื่อการผลิต หรือเพื่อจำหน่าย จ่าย แจก หรือ ขาย
ดังนั้น กิจกรรมของคลังสินค้าจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการโลจิสติคส์และซัพพลายเชน เพราะคลังสินค้าเป็นสถานที่เก็บสินค้าคงคลัง หากมีการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะสามารถช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย ในการลดต้นทุนโลจิสติคส์ได้ ก่อให้เกิดสภาพคล่องและผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment)
สินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจการผลิตและธุรกิจซื้อมาขายไปเป็นอย่างมาก เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นในการผลิตสินค้าที่ไม่ขาดตอน ธุรกิจก็ต้องสต๊อกวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิตและยังต้องเก็บสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปไว้เผื่อขายด้วย วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเหล่านี้เรารวมเรียกว่าสินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือนั่นเอง กิจการที่มีสต๊อกจำนวนมากก็เป็นปัญหาทั้งสถานที่เก็บและยังเป็นปัญหาที่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากอีกด้วย การบริหารสินค้าคงคลังให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อให้มีสินค้าขายและมีต้นทุนการเงินที่ต่ำไปด้วย
วัตถุประสงค์หลักของคลังสินค้าจะเกี่ยวข้องกับบทบาทในการอำนวยความสะดวก (Facilitate) ให้สินค้า และวัตถุดิบ สามารถส่งมอบให้ลูกค้าหรือสายการผลิตในโซ่อุปทานได้อย่างทันเวลาและมีความต่อเนื่อง โดยบทบาทของคลังสินค้ามีหน้าที่สำคัญ 6 อย่าง ดังนี้
โดยการตรวจสอบจำนวน คุณลักษณะในการแยกแยะ จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ โดยการจัดการที่มีระบบการตรวจสอบ และตรวจนับความถูกต้องที่เกี่ยวกับปริมาณ จำนวน สภาพ และคุณภาพ โดยคลังสินค้าทุกประเภทจะทำหน้าที่ในฐานะผู้ทรงสิทธิ ในความเป็นเจ้าของสินค้าชั่วคราว ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบที่จะมีต่อตัวสินค้า
ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการทั้งการใช้เทคนิค เทคโนโลยีในการเก็บและทักษะเครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงประเภท ต่างๆ เช่น รถยก , ชั้นวางสินค้า , การควบคุมบรรยากาศ อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อมในคลังให้เหมาะสมกับสินค้า แต่ละชนิด แต่ละประเภท รวมถึงอาศัยระบบและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automated Robot System (ระบบหุ่นยนต์) ระบบ Bar Code หรือ RFID รวมถึงระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
การ Packing การแบ่งบรรจุ การคัดเลือก การติดป้าย (Pick & Pack) คลังสินค้า ในฐานะกลไกโลจิสติกส์ในการรวบรวม จัดเก็บสินค้ายังทำหน้าที่อื่นตามที่ลูกค้าต้องการ (Services On Demand) ในธุรกิจการให้บริการคลังสินค้ารายได้ในส่วนนี้อาจพอๆ กับรายได้ในการจัดเก็บสินค้าหรือ ให้เช่าพื้นที่
เกี่ยวกับรายงาน (Inventory Control) การเคลื่อนไหว การรับ และการเบิก-จ่าย ที่เรียกว่า Inventory Report และการควบคุมทางบัญชีโดยต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า จะเป็นจำนวนหนึ่งในสามของต้นทุนโลจิสติกส์
เพราะเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาและครอบครองสินค้า ในทางปฏิบัติอาจมีการกำหนดขอบเขต และจำกัดความรับผิดชอบ เช่น กรณีเสียหายจากอัคคีภัย อาจกำหนดเป็นวงเงินต่อพื้นที่เช่าเป็นตารางเมตร
ไม่ว่าจะส่งมอบสินค้า ให้กับผู้ผลิตหรือการจัดส่งสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้รับ ทั้งจำนวน สภาพ สถานที่และเวลา (The right thing at the right place in the right time) เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งจะต้องมีกระบวนการคัดเลือกสินค้า และระบบการจัดส่งให้กับลูกค้าด้วยหน้าที่นี้ ทำให้คลังสินค้าสามารถแยกออกตามลักษณะของภารกิจ ได้แก่
- คลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บ (Storage Warehouse)
- คลังสินค้าสำหรับจำหน่าย (Wholesaler Warehouse)
- ศูนย์ขนส่งสินค้า (Truck Terminal)
- คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)
- ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock Warehouse)
- ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center)
หากลูกค้าท่านใดที่สนใจเช่าคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้า พร้อมระบบการจัดการที่มีมาตราฐานสูง อย่าลืมนึกถึง CTT Warehouse สามารถรถทะเบียนรับคำปรีกษาฟรี กับ CTT Logistic Service & Solution
ที่ : https://bit.ly/3LYFY6Y หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : https://lin.ee/syTgeJV